วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว

ก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว

            ก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่รวมตัวกันโดยมีสัดส่วนของอะตอมที่แตกต่างกัน คือ ก๊าซมีเทน (methane;CH4) ก๊าซอีเทน (ethane; C2H6) ก๊าซโพรเพน (propane;C3H8) ก๊าซบิวเทน (butane; C4H10) ก๊าซเพนเทน (pentane; C5H12) ก๊าซเฮกเทน (hextane; C6H14) ก๊าซเฮปเทน (heptane; C7H16) และก๊าซออกเทน (octane; C8H19) นอกจากนี้ยังอาจมีก๊าซอื่นเจือปนอยู่ด้วย เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และก๊าซไนโตรเจน
a "horse head" pump :API

            ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว สามารถจำแนกคุณสมบัติของชนิดก๊าซและการใช้ประโยชน์ได้เป็น 3 ประเภท คือ
   
         ก๊าซแห้ง (dry gas) ได้แก่ ก๊าซที่มีองค์ประกอบของก๊าซมีเทนและอีเทน ซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซที่มีอุณหภูมิและความดันปกติ ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตก๊าซเหลว (liquefied natural gas;LNG) เพื่อบรรจุถังและขนส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้ ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเมธานอล ปุ๋ย ไนโตรเจน แอมโมเนีย และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีต่างๆ ใช้แทนน้ำมันเตาในการผลิตกระแสไฟฟ้าและใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
   
         ก๊าซชื้น (wet gas) ได้แก่ ก๊าซที่มีองค์ประกอบของก๊าซโพรเพนและบิวเทน มีสถานะเป็นก๊าซที่มีอุณหภูมิและความดันปกติ ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (liquefied petroleum gas;LPG) หรือก๊าซหุงต้ม ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือน ขับเคลื่อนรถยนต์ ใช้กับระบบตู้เย็นและเครื่องทำความเย็น ใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานกลั่นน้ำในดิบบางส่วน และใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมชนิดต่างๆ
   
         ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซโซลีนธรรมชาติเหลว (condensate) คือ ก๊าซที่มีองค์ประกอบของก๊าซเพนเทน เฮกเทน และออกเทน ซึ่งมีสภาพเป็นก๊าซเมื่ออยู่ในแหล่งกักเก็บและจะมีสภาพเป็นของเหลว เมื่อนำขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิต สามารถแยกออกจากก๊าซธรรมชาติได้เลยจากบนแท่นผลิต ใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานกลั่นน้ำมัน ใช้นำไปเพิ่มออกเทนให้เท่ากับน้ำมันเบนซิน ใช้กับรถยนต์ และใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่างๆ
a chrirtmas tree :NGSA




อ้างอิง ; http://www.mne.eng.psu.ac.th/knowledge/mine/gas1.htm


ก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซธรรมชาติมาจากไหน?

ก๊าซธรรมชาติคืออะไร

ก๊าซธรรมชาติเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากการสะสมและทับถมของซากสิ่งมีชีวิตตามชั้นหิน ดิน และในทะเลหลายร้อยล้านปี ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติซึ่งมีสาเหตุมาจากความร้อนและความกดดันของผิวโลก จนซากสัตว์และซากพืชหรือฟอสซิลนั้นกลายเป็นน้ามันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ที่เรานามาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด เราจึงเรียกเชื้อเพลิงประเภทน้ามัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล

รูปที่ 1 รูปแหล่งที่มาของก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วยมีเทนหรืออีเทน จะมีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ดังนั้น การขนส่งจึงจาเป็นต้องวางท่อส่งก๊าซ ส่วนก๊าซที่มีโพรเพนและบิวเทน ซึ่งทั่วไปมีปนอยู่ประมาณ 48 เปอร์เซ็นต์ จะมีสถานะเป็นก๊าซ ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เช่นกัน เราสามารถแยกโพรเพน และบิวเทน ออกจากก๊าซธรรมชาติได้ แล้วบรรจุลงในถังก๊าซ เรียกก๊าซนี้ว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas หรือ LPG ซึ่งก็คือ ก๊าซหุงต้มที่เราใช้กันในครัวที่บ้านนั่นเอง)
องค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติ
รูปที่ 2 องค์ประกอบหลักของก๊าซธรรมชาติ
1. แหล่งกำเนิดก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้ภายในประเทศไทย
แหล่งก๊าซที่นามาใช้ในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 แหล่ง คือ
1.1 แหล่งที่มาจากประเทศพม่า 23 % มีอยู่ด้วยกัน 2 แหล่งคือ แหล่งยานาดา และแหล่งเยตากุน บริเวณอ่าวเมาะตะมะ 
1.2 แหล่งที่มาจากประเทศไทย 77 % มีอยู่ด้วยกัน 2 แหล่งคือ - ในทะเล (มีปริมาณมาก) ได้แก่ บริเวณอ่าวไทย     (ผู้ผลิต: UNOCAL, TOTAL, THAIPO 90.3 %) - บนบก (มีปริมาณน้อย) ได้แก่ อ.น้าพอง จ.ขอนแก่น
 (ผู้ผลิต: ESSO 9.7 %)
แผนที่โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
รูปที่ 3 แหล่งกำเนิดก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย
2. กระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติสาหรับนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
การแยกก๊าซธรรมชาติ คือ การแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งปะปนกันอยู่หลายชนิดตามธรรมชาติออกจากก๊าซธรรมชาติมาเป็นก๊าซชนิดต่างๆ เพื่อนาไปใช้ไห้เกิดประโยชน์สูงสุดตามคุณค่าของคุณสมบัติของก๊าซนั้นๆ
โรงแยกก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย เกิดขึ้นหลักจากที่มีการนำก๊าซธรรมชาติซึ่งถูกค้นพบในอ่าวไทยมาใช้ประโยชน์ โดยการสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตในทะเลอ่าวไทยมาขึ้นฝั่งตามโรงแยกก๊าซ (รูปที่4) โดยแยกสารไฮโดรคาร์บอนที่เป็นประโยชน์ได้หลายชนิด เช่น นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง เป็นวัตถุดิบในงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอื่นๆอีกมากมาย

ท่อส่งก๊าซธรรมชาติของปตท.

รูปที่ 4 รูปแสดงเส้นทางท่อนำก๊าซธรรมชาติเข้าประเทศไทย
ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงแยกก๊าซธรรมชาติถึง 4 หน่วย
โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 1 เพื่อผลิตวัตถุตั้งต้นให้แก่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้มสาหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน
โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 2, 3 และ 4 เพื่อขยายตัวตามความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซหุงต้มที่เพิ่มสูงขึ้น
โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 5 เพื่อรองรับการขยายตัวในการผลิตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีความต้องการก๊าซอีเทน ก๊าซโพรเพน และก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้มเป็นวัตถุดิบตั้งต้น พร้อมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงในด้านการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์



อ้างอิง : http://www.scan-inter.com/en/node/42

ประวัติการสำรวจและขุดเจาะก๊าซธรรมชาติประเทศไทย

ประวัติการสำรวจและขุดเจาะก๊าซธรรมชาติประเทศไทย


ปี 2510 ไทยได้ออกประกาศเชิญชวนเอกชนให้มายื่นขอสิทธิการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในเขตไหล่ทวีป(อ่าวไทย) และในทะเลอันดามัน ปรากฏว่ามีบริษัทฯที่ได้รับอนุญาตจำนวน 6 บริษัทฯ และบริษัท Continental Oil Company of Thailand ได้เจาะสำรวจหลุมแรกในอ่าวไทย คือ หลุมสุราษฎร์-1 ในแปลงสัมปทาน B10 (12 มิถุนายน – 2 สิงหาคม 2514) ได้ความลึก 9,629 ฟุต พบร่องรอยปิโตรเลียม สำหรับหลุมเจาะหลุมแรกในอ่าวไทยที่ประสบความสำเร็จพบปิโตรเลียม คือ หลุมเจาะ 12-1 ดำเนินการโดยบริษัท Union Oil (บริษัท Unocal ปัจจุบัน) ในแปลงสัมปทาน B12 (9 ตุลาคม 2515 – 29 มกราคม 2516) โดยพบทั้งก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลวในปริมาณที่น่าพอใจ (เดิมคาดว่าน่าจะพบน้ำมันในอ่าวไทย) ทำให้บริษัทฯ คาดว่าอาจไม่คุ้มทุนในการสำรวจและผลิตก๊าซจากอ่าวไทย เนื่องจากในเวลานั้นยังไม่มีตลาดของก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศ (เชื้อเพลิงส่วนใหญ่ของประเทศในเวลานั้น คือ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา ถ่านหินและฟืน) แต่อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้ตัดสินใจเจาะสำรวจเพิ่มเติม ในขณะที่ทำการเจรจาขายก๊าซให้กับองค์การก๊าซ (การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าไปพร้อมกัน
ปี 2518 ได้เจาะหลุมประเมินผลหลุมแรกของประเทศ คือ หลุม 12-5 เพื่อพิสูจน์ศักยภาพของแหล่งก๊าซดังกล่าว ต่อมาแหล่งก๊าซนี้ได้ชื่อว่า แหล่งเอราวัณ นอกจากความสำเร็จของบริษัท Union Oil แล้ว บริษัทผู้รับสัมปทานอื่นก็พบแหล่งก๊าซที่มีค่าในเชิงพาณิชย์อีก เช่น บริษัท Texas Pacific (ปัจุบันได้โอนสิทธิให้กับบริษัท ปตท.สผ.และคณะ) เจาะหลุมสำรวจพบแหล่งก๊าซในแปลงสัมปทาน B17 เมื่อปี 2523 และต่อมาแหล่งก๊าซนี้ได้ชื่อว่า แหล่งบงกช ซึ่งนับเป็นแหล่งก๊าซที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในปัจจุบัน
ปี 2514 เริ่มต้นการสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอันดามัน รัฐบาลเปิดให้ยื่นขอสัมปทานครั้งแรก บริษัท Amoco Thailand Petroleum และบริษัท Pan Ocean Oil Corporation ได้รับสัมปทานแปลงสำรวจ W2 และ W4 ตามลำดับ หลังจากได้สำรวจธรณีฟิสิกส์ พบว่ามีตะกอนสะสมหนาน้อยกว่า 1,000 เมตร หรือประมาณ 3,300 ฟุต โอกาสพบปิโตรเลียมมีน้อย บริษัทฯ จึงคืนพื้นที่สัมปทานทั้งหมด
ปี 2516 รัฐบาลได้กำหนดพื้นที่สัมปทานที่มีน้ำลึกกว่า 200 เมตร เป็นเขตน้ำลึก รวม 3 แปลง คือ แปลงสำรวจ W7 W8 และ W9 พร้อมทั้งส่งเสริมการสำรวจ โดยให้ผลตอบแทนแก่บริษัทสูงขึ้น เช่น ลดหย่อนด้านข้อผูกพันในสัมปทาน ลดอัตราค่าภาคหลวงปิโตรเลียม จากร้อยละ 12.5 เป็น 8.75 และยังให้โอกาสสำรวจนานขึ้น โดยลดอัตราส่วนของพื้นที่ที่ต้องคืนในช่วงการสำรวจระยะแรก เป็นต้น ทำให้มีการสำรวจที่สำคัญ
ช่วงปี พ.ศ. 2517 – 2530 คือการสำรวจธรณีฟิสิกส์ วิธีวัดคลื่นไหวสะเทือน แบบ 2 มิติ ประมาณ 12,000 กิโลเมตร และเจาะสำรวจ 13 หลุม บริเวณแอ่งเมอร์กุย โดยบริษัท Union Oil Company of Thailand แปลง W8 เจาะสำรวจ 6 หลุม พบร่องรอยก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบในหลุมเมอร์กุย -1 และหลุมตรัง-1 บริษัท Esso Exploration Inc. แปลง W9 เจาะสำรวจ 5 หลุม พบร่องรอยก๊าซในหลุม W9-B-1 และบริษัท Placid Oil แปลง W8 เจาะสำรวจ 2 หลุม พบร่องรอยก๊าซในหลุมยะลา-1

เริ่มผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติ (พ.ศ. 2524 – ปัจจุบัน)

หลังจากการค้นพบ แหล่งเอราวัณ และบริษัท Unocal ทำความตกลงขายก๊าซให้กับบริษัท ปตท.เป็นผลสำเร็จ ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยก็ถูกส่งมาตามท่อใต้ทะเล ขึ้นฝั่งที่ระยองเพื่อนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม และบางส่วนถูกแยกและป้อนเข้าโรงงานเคมี ในขณะที่ผลสำเร็จจากการสำรวจขุดเจาะดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยเป็นที่น่าสนใจในสายตาของบริษัทฯน้ำมันต่างชาติ จึงได้มีการออกประกาศเชิญชวนเอกชนให้มายื่นขอสิทธิการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 6 ในช่วงต้น
ท่อก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเริ่มขึ้นฝั่งที่ระยองเป็นแห่งแรก (credit ภาพจาก gas-pipeline.blogspot.com/)
ท่อก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเริ่มขึ้นฝั่งที่ระยองเป็นแห่งแรก (credit ภาพจาก gas-pipeline.blogspot.com/)

ปี 2522 
ในครั้งนี้เองที่บริษัท Thai Shell และบริษัท Esso Exploration Inc. ได้รับสัมปทานในการสำรวจปิโตรเลียมบนบก โดยบริษัท Thai Shell ได้รับสัมปทานแปลง S1 และ S2 คลุมพื้นที่ในเขตจังหวัด พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร หลังจากการสำรวจเบื้องต้น บริษัทฯได้ทำการเจาะสำรวจหลุมปิโตรเลียม 2 หลุมแรก คือ หลุมประดู่เฒ่า-1 ที่ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย (4 มิถุนายน – 4 กันยายน 2524) พบน้ำมันดิบไหลวันละ 400 บาร์เรล และหลุมลานกระบือ-A1 กิ่งอำเภอลานกระบือ จ.กำแพงเพชร (11 กันยายน -1 ธันวาคม 2524) พบน้ำมันดิบไหลวันละ 2,050 – 5,450 บาร์เรล ต่อมาแหล่งน้ำมันของบริษัท Thai Shell E & P นี้รู้จักกันในนามของ แหล่งสิริกิติ์ และนับเป็นแหล่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ สำหรับบริษัท Esso Exploration Inc. ได้รับสัมปทานในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือแปลง E1 – E5 รวม 5 แปลง และได้เจาะสำรวจเป็นหลุมแรกที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น หลุมน้ำพอง-1 เริ่มเจาะ วันที่ 12 เมษายน 2524 และเจาะถึงความลึกสุดท้ายที่ 13,471 ฟุต พบก๊าซธรรมชาติไหลประมาณวันละ 54 ล้านลูกบาศก์ฟุต ปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งที่ใช้ผลิตก๊าซเพื่อขายให้แก่ กฟผ. ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และรู้จักกันในนามของ แหล่งก๊าซน้ำพอง
ปี 2528 รัฐบาลไทยได้จัดตั้งบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(ปตท.สผ.) ซึ่งต่อมาได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ปัจจุบัน บริษัท ปตท.สผ. สามารถดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศด้วยบุคลากรไทยเป็นส่วนใหญ่ Unocal Petroleum Limited ได้รับสัมปทานแปลง W8/38 และ W9/38 ในทะเลอันดามัน เมื่อเดือนมิถุนายน 2539 ได้สำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน แบบ 2 มิติ และเจาะสำรวจ 5 หลุม พบร่องรอยปิโตรเลียมเพียง 1 หลุม (หลุมสุราษฎร์-1) ถึงปัจจุบัน ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมได้เจาะหลุมปิโตรเลียมแล้ว ไม่น้อยกว่า 1,800 หลุม ปัจจุบันมีผู้รับสัมปทานจำนวน 28 สัมปทาน แปลงสำรวจ 37 แปลง และพบแหล่งปิโตรเลียมที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ทั้งบนบกและในทะเล ไม่น้อยกว่า 30 แหล่ง มีการผลิตปิโตรเลียมจาก 28 แหล่ง ปิโตรเลียมที่ผลิตได้ทั้งในรูปของน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยใช้ปิโตรเลียมในรูปแบบต่างๆ เทียบเป็นปริมาณน้ำมันดิบ ประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อเดือน ในจำนวนนี้ ร้อยละ 30-35 เป็นปิโตรเลียมที่ผลิตได้ในประเทศ ทำให้สามารถประหยัดเงินนำเข้าปิโตรเลียม ไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านบาทต่อเดือน
แหล่งข้อมูล: http://www.cssckmutt.in.th/

พลังงานทดแทน



พลังงานทดแทน โดยทั่วไปหมายถึงพลังงานที่ใช้ทดแทนพลังงานจากฟอสซิลเช่น ถ่านหินปิโตรเลียม และ แก๊สธรรมชาติซึ่งปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์มหาศาลอันเป็นสาเหตุโลกร้อน ตัวอย่างพลังงานทดแทนที่สำคัญเช่น พลังงานลมพลังงานน้ำพลังงานแสงอาทิตย์พลังงานน้ำขึ้นน้ำลงพลังงานคลื่นพลังงานความร้อนใต้พิภพเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นต้น ในปี 2555 ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนเพียง 18.2% ของพลังงานทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า เพียง 1.8% โดยที่พลังงานแสงอาทิตย์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ เพิ่มขึ้น 23% แต่ พลังงานจาก ฟืน ถ่าน แกลบ และวัสดุเหลือใช้ทางเกษตร โดยนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงดั้งเดิม มีอัตราลดลง 10%(อาจเป็นเพราะมวลชีวภาพดังกล่าวถูกแปรรูปไปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพไปแล้ว)
พลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นพลังงานที่ถูกทำขึ้นใหม่(renewable)ได้อย่างต่อเนื่อง[4] (เช่นมวลของลมกลุ่มแรกผ่านกังหันลมไป มวลของลมกลุ่มใหม่ก็ตามมาอย่างต่อเนื่องเป็นต้น) เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน (อังกฤษRenewal Energy) ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น (บางตำราว่า มวลชีวภาพ ก็เป็นพลังงานหมุนเวียน ขึ้นกับว่า มันทำขึ้นใหม่ได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่)
ตามแผนพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน 15 ปี ระหว่าง 2555-2564 มีแผนที่จะให้มีการใช้พลังงานทดแทนเป็นสัดส่วน 20% ของพลังงานทั้งหมด การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิต และการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม
สำหรับผู้ใช้ในเมือง และชนบท ซึ่งในการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาพลังงานทดแทนดังกล่าว ยังรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย งานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรงภายใต้แผนงานนี้คือ โครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงาน และมีความเชื่อมโยงกับแผนงานพัฒนาชนบทในโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้า โดยงานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทนจะเป็นงานประจำที่มีลักษณะการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ ในเชิงกว้างเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ทั้งในด้านวิชาการเชิงทฤษฎี และอุปกรณ์เครื่องมือทดลอง และการทดสอบ รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุน และรองรับความพร้อมในการจัดตั้งโครงการใหม่ๆ ในโครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงานและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น การติดตามความก้าวหน้าและร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาต้นแบบ ทดสอบ วิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น และเป็นงานส่งเสริมการพัฒนาโครงการที่กำลังดำเนินการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้โครงการที่เสร็จสิ้นแล้วได้นำผลไปดำเนินการส่งเสริม และเผยแพร่และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป

ประเภทของพลังงานทดแทน

ในปัจจุบันเรื่องพลังงานเป็นปัญหาใหญ่ของโลก และนับวันจะมีผลกระทบรุนแรงต่อมวลมนุษยชาติมากขึ้นทุกที การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ให้ความสำคัญในการร่วมหาหนทางแก้ไข ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ ทดลอง ติดตามเทคโนโลยีอย่างจริงจังและต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการนำพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีใหม่ๆในด้านพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ในประเทศไทยต่อไป โดยคำนึงถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมซึ่งพอจะจำแนกประเภทของพลังงานทดแทนได้ดังนี้

พลังแสงอาทิตย์


ดวงอาทิตย์ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลกของเรา พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ส่วนใหญ่เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำพวกซิลิคอน มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 44 เปอร์เซนต์[5]
ในส่วนของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง พลังงานโดยเฉลี่ยซึ่งรับได้ทั่วประเทศประมาณ 4 ถึง 4.5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ประกอบด้วยพลังงานจากรังสีตรง (Direct Radiation) ประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานรังสีกระจาย (Diffused Radiation) ซึ่งเกิดจากละอองน้ำในบรรยากาศ(เมฆ) ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าบริเวณที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไปทั้งแนวเหนือ - ใต้

พลังงานลม


เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ 2 ที่ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก ได้รับความสนใจนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน กังหันลมก็เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ โดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้า และในการสูบน้ำ ซึ่งได้ใช้งานกันมาแล้วอย่างแพร่หลายพลังงานลมเกิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบโลกทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่นซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่าจึงเข้ามาแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดลม และมีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝั่งทะเลอันดามันและด้านทะเลจีน(อ่าวไทย) มีพลังงานลมที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะพลังงานกล (กังหันสูบน้ำกังหันผลิตไฟฟ้า) ศักยภาพของพลังงานลมที่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์ได้สำหรับประเทศไทย มีความเร็ว อยู่ระหว่าง 3 - 5 เมตรต่อวินาที และความเข้มพลังงานลมที่ประเมินไว้ได้อยู่ระหว่าง 20 - 50 วัตต์ต่อตารางเมตร

พลังงานความร้อนใต้พิภพ


พลังงานความร้อนใต้พิภพ[Geothermal - Geo (พื้นดิน) Thermal (ความร้อน)] หมายถึงการใช้งานอย่างหนักจากความร้อนด้านในของโลก แกนของโลกนั้นร้อนอย่างเหลือเชื่อ โดยร้อนถึง 5,500 องศาเซลเซียส (9,932 องศาฟาเรนไฮท์) จากการประมาณการเมื่อเร็วๆ นี้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าแม้แต่พื้นผิว 3 เมตรด้านบนสุดของโลกก็มีอุณหภูมิใกล้เคียง 10-26 องศาเซลเซียส (50-60 องศาฟาเรนไฮท์) อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี นอกจากนี้กระบวนการทางธรณีวิทยาที่แตกต่างกันทำให้ในบางที่มีอุณหภูมิสูงกว่ามาก

เชื้อเพลิงชีวภาพ

เกษตรกรไทยเริ่มนำมูลสัตว์มาผลิตเชือเพลิงชีวภาพกันแพร่หลายมากขึ้น
ได้แก่ การนำของเสียจากสิ่งมีชีวิตเช่นขยะที่เป็นสารอินทรีย์หรือมูลสัตว์ไปหมัก ให้ย่อยสลายโดยปราศจากอ๊อกซิเจน จะได้ก๊าซ มีเทน ซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู วัวควาย และสัตว์ปีก ได้ใช้เทคโนโลยีที่ทำขึ้นเอง ผลิตก๊าซชีวภาพมาใช้ในครัวเรือนมากขึ้น ทำให้ลดการใช้พลังงานฟอสซิลได้เป็นจำนวนมาก เกษตรกรบางส่วนยังขายมูลสัตว์ให้กับโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อการพานิชย์ด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร เช่น เปลือกสับปะรดจากโรงงานสับปะรดกระป๋อง หรือน้ำเสียจากโรงงานแป้งมัน ที่เอามาหมักและผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ

พลังงานชีวมวล


เชื้อเพลิงที่ได้จากสิ่งมีชีวิตเช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย เศษไม้ เศษหญ้า เศษเหลือทิ้งจากการเกษตร เหล่านี้ใช้เผาให้ความร้อนได้ เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพแบบของแข็ง และความร้อนนี้แหละที่เอาไปปั่นไฟ โดยเหตุที่ประเทศไทยทำการเกษตรอย่างกว้างขวาง วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย กากมะพร้าว ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก (เทียบได้น้ำมันดิบปีละไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านลิตร) ก็ควรจะใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ได้
ในกรณีของโรงเลื่อย โรงสี โรงน้ำตาลขนาดใหญ่ อาจจะยินยอมให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าต่างๆในประเทศ ในลักษณะของการผลิตร่วม (Co-generation) ซึ่งมีใช้อยู่แล้วหลายแห่งในต่างประเทศโดยวิธีดังกล่าวแล้วจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในประเทศสำหรับส่วนรวมได้มากยิ่งขึ้นทั้งนี้อาจจะรวมถึงการใช้ไม้ฟืนจากโครงการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่นับล้านไร่ ในกรณีที่รัฐบาลจำเป็นต้องลดปริมาณการปลูกมันสำปะหลัง อ้อย เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวทางด้านการตลาดของพืชทั้งสองชนิด อนึ่ง สำหรับผลิตผลจากชีวมวลในลักษณะอื่นที่ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เช่น แอลกอฮอล์ จากมันสำปะหลัง ก๊าซจากฟืน(Wood gas) ก๊าซจากการหมักเศษวัสดุเหลือจากการเกษตร และขยะชุมชน (ก๊าซชีวภาพ) หากมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ก็อาจนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน

พลังงานน้ำ


พื้นผิวโลกถึง 70 เปอร์เซนต์ ปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย น้ำเหล่านี้มีการเปลี่ยนสถานะและหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ระหว่างผิวโลกและบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรียกว่า วัฏจักรของน้ำ น้ำที่กำลังเคลื่อนที่มีพลังงานสะสมอยู่มาก และมนุษย์รู้จักนำพลังงานนี้มาใช้หลายร้อยปีแล้ว เช่น ใช้หมุนกังหันน้ำ ปัจจุบันมีการนำพลังงานน้ำไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า

พลังงานจากขยะ

ขยะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกวัน เราต้องการเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ขยะชุมชนจากบ้านเรือนและกิจการต่างๆ เป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าที่ถูกออกแบบให้ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงได้ โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง จะนำขยะมาเผาบนตะแกรง ความร้อนที่เกิดขึ้นใช้ต้มน้ำในหม้อน้ำจนกลายเป็นไอน้ำเดือด ซึ่งจะไปเพิ่มแรงดันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังงานจากขยะ

ประเทศไทยประสบปัญหาการจัดการขยะชุมชนมาช้านาน จากการเติบโตทางด่านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลให้เกิดปัญหาขยะเพิ่มมากขึ้น ในระยะแรกการฝังกลบเป็นวิธีที่นิยมกันมา แต่ปัจจุบันพื่นที่สำหรับฝังกลบหายากขึ้น และบ่อฝังกลบยังก่อให้เกิดมลภาวะตามมา น้ำเสียจากกองขยะ ทำให้น้ำบนดินและน้ำบาดาลไม่สามารถนำมาบริโภคได้ อีกทั้งกลิ่นเหม็นจากกองขยะก็รบกวนความเป็นอยู่ของชาวบ้าน
จากปัญหาการฝังกลบขยะทำได้ยากขึ้น การกำจัดโดยการเผา เป็นวิธีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อีกต่อไป การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และเป็นประโยชน์จากขยะมากที่สุด น่าจะเป็นทางเลือกที่นำมาใช้

อ้างอิง : พลังงานทดแทน

แก๊สธรรมชาติอัด

แก๊สธรรมชาติอัด



แก๊สธรรมชาติอัด (อังกฤษCompressed Natural Gas, CNG
เป็นเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์อีกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และ แก๊สปิโตรเลียมเหลวสำหรับใช้เป็นพลังงานสะอาดทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปกติ มีใช้กับพาหนะได้ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถตู้ รถประจำทาง เป็นต้น ราคาถูกกว่าน้ำมัน และ ช่วงที่น้ำมันมีราคาสูงมาก จึงมีผู้นิยมใช้เพิ่มขึ้นอย่างสูง

การผลิต

ใช้แก๊สธรรมชาติ (ส่วนใหญ่เป็นมีเทน) มาอัดจนมี ความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว (เป็นแรงดันที่ค่อนข้างสูงมากเท่ากับ 200 เท่าของ ความดันบรรยากาศ) แล้วนำไปเก็บไว้ในถัง ที่มีความแข็งแรง ทนทานสูงเป็นพิเศษ

ระบบที่ติดตั้ง

เครื่องยนต์เบนซินแบ่งการทำงานเป็น 2 ระบบ คือระบบหัวฉีด และระบบดูดแก๊ส ระบบดูดแก๊สเหมาะกับรถยนต์รุ่นเก่าที่ใชัระบบการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อทำการจุดระเบิดด้วยจานจ่าย ระบบนี้บำรุงรักษาง่าย คุ้มทุนเร็ว ส่วนระบบฉีดแก๊สเหมาะกับรถยนต์รุ่นใหม่ที่ใช้ระบบการจุดระเบิดด้วยคอยล์ ซึ่งเป็นระบบไฮเทค ให้อัตราการเร่งเครื่องยนต์ใกล้เคียงกับการใช้น้ำมันเบนซินมากกว่าระบบดูดแก๊ส อัตราการประหยัดการวิ่งเชื้อเพลิงต่อวันคุ้มกว่าระบบดูดแก๊ส สำหรับการติดตั้ง เอ็นจีวี ในเครื่องยนต์เบนซินสามารถเลือกใช้ เอ็นจีวี หรือเบนซินก็ได้ เพียงกดปุ่ม
ในเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ เช่น เครื่องยนต์รถสิบล้อ หรือ เครื่องยนต์ในเรือ หากต้องการจะติดตั้งแก๊สธรรมชาติอัด สามารถทำได้เช่นกัน โดยสามารถทำได้ 2 แบบ
  1. ใช้วิธีผสมระหว่าง แก๊สธรรมชาติอัด กับ ดีเซล อัตราส่วนผสม ขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องยนต์แต่ละตัว
  2. ใช้วิธีดัดแปลงเครื่องมาใช้แก๊สธรรมชาติอัด 100% แต่ไม่สามารถกลับไปใช้น้ำมันดีเซลได้

ถังแก๊ส


ปัจจุบันมีการผลิตถังแก๊สอยู่ 4 ประเภท ได้แก่
  1. ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อะลูมิเนียม
  2. ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อะลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือ เส้นใยคาร์บอน
  3. ถังที่ทำด้วยแผ่นอะลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง
  4. ถังที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว (Fiberglass)
ส่วนการระเบิดนั้น หากระบบแก๊สยังอยู่ในสภาพดี ทำงานได้เป็นปกติ จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากเมื่อแก๊สรั่วจะพุ่งออกมาแล้วฟุ้งกระจายขึ้นไปในอากาศอย่างรวดเร็วทำให้ไม่ลุกไหม้ ระเบิด และเรื่องของการทนความดัน ถังทุกใบทนความดันได้ถึง 2.5 เท่าของความดันปกติ ต่อให้มีไฟมาเผาถังแก๊สก็จะไม่มีอันตราย เพราะวาล์วหัวถังก็ระบายแก๊สออกมาจากถัง โดยอัตโนมัติ

การใช้แก๊สธรรมชาติทั่วโลก

จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2553 พบว่า ประเทศปากีสถานมีการใช้สูงสุด ตามมาด้วย อิหร่าน, อาร์เจนติน่า, บราซิล และ อินเดีย มียานพาหนะที่ใช้แก๊สธรรมชาติอัดมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ปากีสถานยังมีสถานนีบริการฯมากที่สุดในโลกกว่า 3600 แห่ง กลุ่มผู้ใช้หลักเป็นรถส่วนบุคคลซึ่งได้เปลี่ยนมาใช้แก๊สธรรมชาติอัดมากขึ้นเพราะราคาถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซิน เฉพาะรถหรูหราและรถของหน่วยงานของรัฐเท่านั้นที่ยังใช้น้ำมันเบนซิน
10 อันดับประเทศที่ใช้รถเชื้อเพลิงแก๊สธรรมชาติอัดในปี พ.ศ. 2553
(ล้านคัน)
ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน2.74
ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน2.60
ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา1.90
ธงของประเทศบราซิล บราซิล1.66
ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย1.08
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี0.73
 จีน0.45
ธงของประเทศโคลอมเบีย โคลอมเบีย0.34
 ไทย0.21
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน0.20
รวม12.67
ที่มา:[2]

การใช้ในประเทศไทย

ในประเทศไทย มีการให้บริการโดยบริษัท ปตท. บางจากปิโตรเลียม ทีพีไอ โพลีน และซัสโก้