ก๊าซธรรมชาติมาจากไหน?
ก๊าซธรรมชาติคืออะไร
ก๊าซธรรมชาติเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเกิดจากการสะสมและทับถมของซากสิ่งมีชีวิตตามชั้นหิน ดิน และในทะเลหลายร้อยล้านปี ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติซึ่งมีสาเหตุมาจากความร้อนและความกดดันของผิวโลก จนซากสัตว์และซากพืชหรือฟอสซิลนั้นกลายเป็นน้ามันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ที่เรานามาใช้ประโยชน์ได้ในที่สุด เราจึงเรียกเชื้อเพลิงประเภทน้ามัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ว่า เชื้อเพลิงฟอสซิล
รูปที่ 1 รูปแหล่งที่มาของก๊าซธรรมชาติ
ก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วยมีเทนหรืออีเทน จะมีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ดังนั้น การขนส่งจึงจาเป็นต้องวางท่อส่งก๊าซ ส่วนก๊าซที่มีโพรเพนและบิวเทน ซึ่งทั่วไปมีปนอยู่ประมาณ 48 เปอร์เซ็นต์ จะมีสถานะเป็นก๊าซ ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เช่นกัน เราสามารถแยกโพรเพน และบิวเทน ออกจากก๊าซธรรมชาติได้ แล้วบรรจุลงในถังก๊าซ เรียกก๊าซนี้ว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas หรือ LPG ซึ่งก็คือ ก๊าซหุงต้มที่เราใช้กันในครัวที่บ้านนั่นเอง)
รูปที่ 2 องค์ประกอบหลักของก๊าซธรรมชาติ
1. แหล่งกำเนิดก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้ภายในประเทศไทย
แหล่งก๊าซที่นามาใช้ในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 แหล่ง คือ
1.1 แหล่งที่มาจากประเทศพม่า 23 % มีอยู่ด้วยกัน 2 แหล่งคือ แหล่งยานาดา และแหล่งเยตากุน บริเวณอ่าวเมาะตะมะ
1.2 แหล่งที่มาจากประเทศไทย 77 % มีอยู่ด้วยกัน 2 แหล่งคือ - ในทะเล (มีปริมาณมาก) ได้แก่ บริเวณอ่าวไทย (ผู้ผลิต: UNOCAL, TOTAL, THAIPO 90.3 %) - บนบก (มีปริมาณน้อย) ได้แก่ อ.น้าพอง จ.ขอนแก่น
(ผู้ผลิต: ESSO 9.7 %)
(ผู้ผลิต: ESSO 9.7 %)
รูปที่ 3 แหล่งกำเนิดก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย
2. กระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติสาหรับนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
การแยกก๊าซธรรมชาติ คือ การแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งปะปนกันอยู่หลายชนิดตามธรรมชาติออกจากก๊าซธรรมชาติมาเป็นก๊าซชนิดต่างๆ เพื่อนาไปใช้ไห้เกิดประโยชน์สูงสุดตามคุณค่าของคุณสมบัติของก๊าซนั้นๆ
โรงแยกก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย เกิดขึ้นหลักจากที่มีการนำก๊าซธรรมชาติซึ่งถูกค้นพบในอ่าวไทยมาใช้ประโยชน์ โดยการสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตในทะเลอ่าวไทยมาขึ้นฝั่งตามโรงแยกก๊าซ (รูปที่4) โดยแยกสารไฮโดรคาร์บอนที่เป็นประโยชน์ได้หลายชนิด เช่น นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง เป็นวัตถุดิบในงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอื่นๆอีกมากมาย
รูปที่ 4 รูปแสดงเส้นทางท่อนำก๊าซธรรมชาติเข้าประเทศไทย
ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงแยกก๊าซธรรมชาติถึง 4 หน่วย
โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 1 เพื่อผลิตวัตถุตั้งต้นให้แก่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้มสาหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน
โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 2, 3 และ 4 เพื่อขยายตัวตามความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือก๊าซหุงต้มที่เพิ่มสูงขึ้น
โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 5 เพื่อรองรับการขยายตัวในการผลิตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีความต้องการก๊าซอีเทน ก๊าซโพรเพน และก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้มเป็นวัตถุดิบตั้งต้น พร้อมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงในด้านการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์
อ้างอิง : http://www.scan-inter.com/en/node/42
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น